เวลาที่ห้ามละหมาดโดยเด็ดขาด ที่มุสลิมทุกคนควรรู้
เวลาที่ห้ามละหมาดโดยเด็ดขาด ที่มุสลิมทุกคนควรรู้ รายงานจากท่านอุกบะฮ์ บิน อามิร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เขากล่าวว่า
يَقُولُ ثَلاَثُ سَاعَاتٍ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَنْهَانَا أَنْ نُصَلِّيَ فِيهِنَّ أَوْ أَنْ نَقْبُرَ فِيهِنَّ مَوْتَانَا حِينَ تَطْلُعُ الشَّمْسُ بَازِغَةً حَتَّى تَرْتَفِعَ وَحِينَ يَقُومُ قَائِمُ الظَّهِيرَةِ حَتَّى تَمِيلَ الشَّمْسُ وَحِينَ تَضَيَّفُ الشَّمْسُ لِلْغُرُوبِ حَتَّى تَغْرُبَ
“มีอยู่สามช่วงเวลาที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามพวกเราจากการละหมาดหรือทำการฝังคนตาย คือในขณะที่ดวงอาทิตย์ขึ้นปรากฏจนกระทั่งขึ้นสูง และขณะอูฐยืนร้อน(ตอนเที่ยงตรง)จนกระทั้งดวงอาทิตย์คล้อย และในขณะที่ดวงอาทิตย์เป็นสีเหลืองจนกระทั่งตกดิน” รายงานโดย มุสลิม
ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ กล่าวว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم نَهَى عَنِ الصَّلاَةِ بَعْدَ الْعَصْرِ حَتَّى تَغْرُبَ الشَّمْسُ وَعَنِ الصَّلاَةِ بَعْدَ الصُّبْحِ حَتَّى تَطْلُعَ الشَّمْسُ
“แท้จริงท่านร่อซูลลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามจากการละหมาดหลังอัสริจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตก และห้ามจากการละหมาดหลังซุบฮิจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น” รายงานโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม
การห้ามละหมาดในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ถือว่าเป็นมักโระฮ์ตะห์รีม (สิ่งที่ศาสนาห้ามโดยเด็ดขาดแต่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นหะรอม) ข้อห้ามดังกล่าวนั้น ยกเว้นช่วงเที่ยงวันของวันศุกร์เพราะมีหะดิษของท่านอบูดาวูดระบุยกเว้นไว้ และยกเว้นกรณีของการละหมาดที่มีสาเหตุอยู่ก่อน เช่น การละหมาดสุริยะคราส , ละหมาดขอฝน , ละหมาดเคารพมัสยิด , ละหมาดสุนัตหลังอาบน้ำละหมาด , การละหมาดชดใช้ที่ขาดมาก่อนหน้านี้ ไมว่าจะเป็นละหมาดฟัรดูหรือสุนัต
ท่านนบี ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ نَسِيَ صَلاَةً أَوْ نَامَ عَنْهَا فَكَفَّارَتُهَا أَنْ يُصَلِّيَهَا إِذَا ذَكَرَهَا
“ผู้ใดที่ทิ้งละหมาดหรือนอนหลับเลยเวลาละหมาดหนึ่ง ดังนั้น ค่าปรับของมันก็คือ การที่เขาได้ละหมาดมันเมื่อนึกขึ้นได้” รายงานโดยมุสลิม
ท่านอุมมุสะละมะฮ์ ได้กล่าวท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เกี่ยวกับการละหมาดสองร่อกะอัตหลังอัสริของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า
يَا بِنْتَ أَبِي أُمَيَّةَ سَأَلْتِ عَنِ الرَّكْعَتَيْنِ بَعْدَ الْعَصْرِ إِنَّهُ أَتَانِي نَاسٌ مِنْ عَبْدِ الْقَيْسِ بِالإِسْلاَمِ مِنْ قَوْمِهِمْ فَشَغَلُونِي عَنِ الرَّكْعَتَيْنِ اللَّتَيْنِ بَعْدَ الظُّهْرِ فَهُمَا هَاتَانِ
“โอ้บุตรีของอบีอุมัยะฮ์ เธอได้ถามถึงสองร่อกะอัตหลังเวลาอัสริ ก็เพราะว่ามีผู้คนจากตระกูลอับดุลกัยซ์ ซึ่งพวกเขาได้มาฉันเพื่อรับอิสลาม ดังนั้น พวกเขาจึงทำให้ฉันยุ่งจนไม่ได้ละหมาดสองร่อกะอัตหลังซุฮ์ริ ดังนั้น ละหมาดสองร่อกะอัตทั้งสอง(ที่ทำหลังอัสริ) ก็คือ (ละหมาดสองร่อกะอัตหลังซุฮ์ริ) อันนี้แหละ” รายงานโดยมุสลิม
และยกเว้นการตอวาฟและละหมาดหลังอัสริที่มัสยิดหะรอม เพราะ ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ تَمْنَعُوا أَحَدًا يَطُوفُ بِهَذَا الْبَيْتِ وَيُصَلِّي أَىَّ سَاعَةٍ شَاءَ مِنْ لَيْلٍ أَوْ نَهَارٍ
“พวกท่านอย่าห้ามผู้ใดทำการต่อวาฟที่บัยตุลลอฮ์แห่งนี้ และให้เขาละหมาดเวลาใดก็ได้ตามที่เขาต้องการ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน” รายงานโดย อบูดาวูด
ส่วนการละหมาดโดยปราศจากสาเหตุอันใดหรือเจตนาที่จะละหมาดในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่ามักโระฮ์ตะห์รีม เช่น เจตนาเข้าไปในมัสยิดเพื่อละหมาดตะฮียาตมัสยิด , ละหมาดสุนัตธรรมดา , ละหมาดอิสติคอเราะฮ์ เป็นต้น เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
لاَ تَحَرَّوْا بِصَلاَتِكُمْ طُلُوعَ الشَّمْسِ وَلاَ غُرُوبَهَا فَإِنَّهَا تَطْلُعُ بِقَرْنَىْ شَيْطَانٍ
“พวกท่านอย่ากำหนดการละหมาดขงพวกท่านในช่วงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและดวงอาทิตย์ตก เพราะดวงอาทิตย์กำลังขึ้น(ระหว่าง)สองเขาของชัยฏอน” รายงานโดย มุสลิม (ดู หนังสือ มุฆนี อัลมั๊วะห์ตาจญ์ ของท่าน อิมาม อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ เล่ม 1 หน้า 260 – 263 ตีพิมพ์ อัตเตาฟีกียะฮ์)
สรุป เวลาที่ห้ามละหมาดโดยเด็ดขาด มี 3 เวลา คือ 1.ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น 2.ดวงอาทิตย์ตรงศรีษะ 3.ดวงอาทิตย์กำลังจะตก เพราะจะไปตรงกับพวกลัทธิบูชาไฟกราบไหว้ดวงอาทิตย์ ศาสนาบูชาไฟ คือ ((ศาสนาบูชาไฟ : อัลมะญูซ)) อีกหนึ่งศาสนาที่มีอยู่ในสมัยนบี คือ ศาสนาบูชาไฟ หรือ ในภาษาอาหรับเรียกว่า อัลมะญูซ ดังในอัลกุรอาน ได้ระบุว่า
إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَالَّذِينَ هَادُوا وَالصَّابِئِينَ وَالنَّصَارَىٰ وَالْمَجُوسَ وَالَّذِينَ أَشْرَكُوا إِنَّ اللَّهَ يَفْصِلُ بَيْنَهُمْ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ۚ إِنَّ اللَّهَ عَلَىٰ كُلِّ شَيْءٍ شَهِيدٌ
ความว่า ( 17 ) แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาชาวยิว และพวกศอบิอีน และพวกนะศอรอ และพวกบูชาไฟ และบรรดาผู้ตั้งภาคี แท้จริงอัลลอฮ์จะทรงตัดสินใจในระหว่างพวกเขาในวันกิยามะฮ์ แท้จริงอัลลอฮ์ทรงเป็นพยานต่อทุกสิ่ง โนรูซ มรดกแห่งศาสนาบูชาไฟ โนรูซ หรือวันขึ้นปีใหม่ของอิหร่าน จะตรงกับวันที่ 20, 21 หรือ 22 มีนาคมในแต่ละปี โดยยึดถือวสันตวิษุวัติเป็นหลักในการนับวันปีใหม่ ประเพณีการฉลองวันขึ้นปีใหม่ มีมาตั้งแต่สมัยที่ชาวเปอร์เซียเริ่มนับถือศาสนาโซโรอัสเตอร์ (บูชาไฟ) เมื่อราวสามพันปีก่อน ถึงแม้ว่าศาสนาอิสลามจะได้แผ่ขยายเข้าไปในเปอร์เซีย ชาวอิหร่านก็ยังไม่ได้ละทิ้งประเพณีการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ แม้ว่าพวกเขาจะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมาเป็นเวลานานเกือบ 14 ศตวรรษก็ตาม การเฉลิมฉลองวันปีใหม่ของชาวเปอร์เซีย เริ่มต้นด้วยการกระโดดข้ามไฟ เรียกว่าพิธีซูรี ในตอนเย็นของวันอังคาร ก่อนที่วันปีใหม่จะมาถึง โดยมีความเชื่องมงายว่า จะทำให้จิตวิญญาณบริสุทธิ์สะอาด นอกจากนี้ยังจัดโต๊ะ ซึ่งเหมือนโต๊ะบูชา โดยมีข้าวของ 7 อย่างที่มีชื่อเริ่มต้นด้วยตัวอักษร ซีน (ซ) โดยมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งมงคล และตั้งคัมภีร์หนึ่งเล่ม อาจจะเป็นอัลกุรอาน หรือคัมภีร์อื่น ๆ ตามที่ตนนับถือ นอกจากนี้ยังมีการตั้งกระจก และเอาเทียนตั้งหน้ากระจกให้แสงสะท้อน ซึ่งก็มีเค้ามาจากการบูชาไฟของพวกโซโรอัสเตอร์ หลังจากนั้นอีก 13 วัน ก็จะมีการเฉลิมฉลองวันที่ 13 อีกครั้ง โดยจะพากันออกไปปิกนิกในสวนสาธารณะ หรือในป่าเขาลำเนาไพร และจะเน้นความรื่นเริง และเล่าเรื่องตลก ซึ่งยังรวมถึงการโกหกหลอกเพื่อนฝูง เหมือนกับประเพณีของฝรั่งในวันที่ 1 เมษายน ประเพณีการเฉลิมฉลองวันปีใหม่ขัดกับหลักชะรีอะฮฺของอิสลามอย่างรุนแรง ถึงกระนั้นก็ตามบรรดาอุละมาอ์ของอิหร่านกลับไม่มีใครต่อต้าน หรือรณรงค์เพื่อยกเลิก นอกจากนี้ยังมีการกำหนดบทบัญญัติให้ถือศีลอด ให้อาบน้ำ และอ่านดุอาอ์โดยเฉพาะ โดยอ้างว่ามีหลักฐานว่าอิมามอะฮฺลุลเบตบางคนเคยทำ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการพยายามให้ประเพณีของเปอร์เซียสอดคล้องกับอิสลาม ซึ่งหากไตร่ตรองให้ชัดก็จะเห็นว่า เป็นการอุตริขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ศาสนาบูชาไฟ เป็นศาสนาที่มีอิทธิพลต่อชาวอิหร่านตลอดสามพันที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าชาวอิหร่านเกือบทั้งหมดจะเข้ารับนับถือศาสนาอิสลามมากว่าพันสามร้อยปี แต้ร่องรอยของศาสนาโซโรอัสเตอร์ก็ยังคงฝังลึกอยู่ในขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวอิหร่าน เช่นประเพณีการเฉลิมฉลองวันโนรูซ ซึ่งมีการกระโดดข้ามไฟ และการจัดโต๊ะเหมือนโต๊ะหมู่บูชาที่มีไฟและน้ำเป็นองค์ประกอบ ปัจจุบันนี้ ศาสนานี้ยังคงมีอยู่ในประเทศอีหร่าน