ชีวะประวัติของอิหม่ามซาฟีอี
ชีวะประวัติของอิหม่ามซาฟีอี
ท่านอิหม่ามซาฟีอีมีนามแฝงว่า ท่านอาบูอับดุลเลาะห์ เกิดเดือนรอฮับ ปีที่ 160 ฮิจเราะห์ศักราชตรงกับปีที่ 767 มีลาดี
บิดาของท่านอิหม่ามเป็นชาวฮิยาดและยากจน เพราะเหตุนี้จึงได้อพยพจากนครมักกะห์สู่ประเทศชามและได้พักใช้ชีวิตอยู่ที่มณฑลฆุซซะห์ และมณฑลอัสกอลานี ซึ่งอยู่ในประเทศปาเลสไตย์ปัจจุบัน และต่อมาบิดาของท่านอิหม่ามได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ท่านอิหม่ามซาฟีอีมีอายุได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
สืบเชื่อสายจากทางบิดา
มูฮำหมัด บุตรของท่านอิดริส อิดริสบุตรอับบาซ อับบาซบุตรอุสมาน อุสมานบุตรชาเฟียด์ ซาเฟียอ์บุตรซาอิบ ซาอิบบุตรอับดุยาซีด อับดุยาซีดบุตรฮาซิม ฮาซิมบุตรมุตตอลิบ มุตตอลิบบุตรอัลดิมานาฟ
สืบเชื้อสายจากสามมารดา
มารดาอิหม่ามสืบเชื้อสายจากตระกูลอาซัด ซึ่งถือเป็นวงค์กระกูลที่มีเกียรติและประเสริฐ ที่ท่านร่อซู้ลลัลเลาะห์ได้ทรงรับรองไว้ว่า อัลอาซัด อัสดุลเลาะห์ การที่ท่านร่อซู้ลได้ฝากอัลอาซัดไปยังคำว่า อัลเลาะห์ ณ ที่นี้นั้น เปรียบได้ดังคำว่า บับตุ้ลเลาะห์ และ นาก่อตุ้ลเลาะห์
ภรรยาของอิหม่ามซาฟีอี
อิหม่ามได้ทำการสมรสกับพระนางฮามีดะห์ บุตรสาวของท่านนาเฟียอ์ หลานสาวของท่านอุสมาน บุตรท่านอัฟฟาน หลังจากที่ท่านอิหม่ามมาเล็ก ได้สิ้นพระชนม์แล้ว ( ถึงแก่กรรม) อายุของท่านอิหม่ามได้ 30 ปี โดยประมาณ
บุตรของอิหม่ามที่สืบเชื้อสายจากตระกูลอุสมาน บุตรท่านอัฟฟานได้แก่ อาบูอุสมาน มูฮำหมัด
ส่วนบุตรสาว ได้แก่ ฟาตีมะห์และไซหนับ หากแต่ขณะอาบูอุสมาน มูฮำหมัด นั้น มีตำแหน่งที่สูง เป็นถูงผู้พิพากษาของแคว้นฮาลิบ และอิหม่ามซาฟีอีได้มีลูกชายอีกคนหนึ่งกับภรรยาคนที่สอง ชื่อ ฮาซัน บุตรมูฮำหมัด บุตรอิดริส แต่ฮาซันได้เสียชีวิตขณะยังเด็กอยู่
เอกลักษณ์ประจำตัวที่เด่นชัดของอิหม่าม อิหม่ามซาฟีอีเป็นชายที่สูงใหญ่ มีมารยาทดีเลิศ และท่านเป็นคนรักเพื่อนฝูงและครอบครัว คนรอบข้าง เสื้อผ้าที่สวมใส่สะอาดหมดจด พูดจาฉะฉาน ชอบสร้างความดีต่อเพื่อนบ้าน ชอบย้อมผมสีแดง อ่านกุรอ่านเสียงไพเราะรื่นหู ทั้ง ๆ ที่อายุขณะนั้นท่านมีอายุเพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น นักวิชาการ นักปราชญ์ บรรดาอุลามาเหล่านั้นต้องการที่จะหลั่งน้ำตาอันเนื่องมาจากการยำเกรงอัลเลาะฮ์ ก็จึงมีการรวมตัวกันแล้วเอ่ยขึ้นว่า พวกเราทุก ๆ เราไปเถิด ไปหาเด็กคนนั้นเถิด หมายถึง อิหม่ามซาฟีอี เพื่อเราจะได้รับฟังการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านจากเขา และจะเป็นเหตุให้พวกเราหลั่งน้ำตาเพราะเหตุการฟังการอ่านของเด็กผู้นั้น เมื่อพวกเขาเหล่านั้นได้เดินทางมาถึงที่หมายและได้สดับรับฟังการอ่านและได้ยินเสียงอันไพเราะของอิหม่าม น้ำตาของบุคคลเหล่านั้นก็ได้ไหลล้นเอ่อเต็มหน้าตักของพวกเขาเหล่านั้น อิหม่ามซาฟีอีเมื่อมองเห็นสภาพเช่นนั้นก็จึงหยุดอ่านกุรอ่านเนื่องจากมีความสงสารบุคคลเหล่านั้น
ในขณะที่อิหม่ามมีอายุได้ 2 ขวบ มารดาของท่านได้พาอิหม่ามออกเดินทางสู่นครมักกะห์อิมูกัสรอมะห์ มารดาอิหม่ามได้หยุดพักอยู่ที่ และหลังจากนั้นก็มาหยุดพักที่มัสยิดฮารอมที่มีนามว่า ซะอ์มุ้ลคีฟ
เมื่ออิหม่ามซาฟีอีมีความปราดเปรื่อง มีไหวพริบดี มารดาจึงส่งไปเรียนหัดประพันธ์ หากแต่ว่าสภาพคล่องทางการเงินไม่เพียงพอ จึงเลิก พักการเรียนในขณะหนึ่ง อันเนื่องจากมวลเหตุการบกพร่องดังกล่าวมา จึงเป็นสาเหตุให้ท่านอิหม่ามมีความมุ่งมั่นมานะพยายามศึกษาเล่าเรียนอย่างสุดความสามารถในการศึกษาเล่าเรียน และทำตัวให้ใกล้ชิดต่อคณาจารย์ให้มากที่สุด เพื่อจะได้คำสั่งสอนที่มีน้อยนักที่เด็กวัยเพียงเท่านี้จะสามารถทำได้ ในขณะที่อาจารย์ไม่อยู่ อิหม่ามก็ยังคงทบทวนบทเรียนอย่างต่อเนื่องเหมือนกับอาจารย์ปรากฏตัวอยู่ การปฏิบัติดังกล่าวนั้นจึงทำให้อิหม่ามมีความแตกฉานและด้านวิชาการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งนักเรียนที่เรียนอยู่ด้วยกันมีความรักท่านและศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน และเชื่อฟังคำพูดของท่าน เมื่ออิหม่ามมีอายุได้ 7 ปี หรือ 9 ปี ท่านมีความสามารถในการท่องจำกุรอ่านได้หมดทั้งเล่ม หลังจากนั้นท่านได้เข้าศึกษาที่มัสยิดอัลฮารอม ท่านก็ได้มุ่งมั่นทำการศึกษาด้านภาษา วิชาสาขาทุกแขนง จนกระทั่งมีความปราดเปรื่องด้านภาษาอาหรับ เป็นเพราะเหตุที่ได้มารวมกันหลายเผ่าพันธุ์ หลายหมู่เหล่า ที่ได้เข้ามาศึกษาที่มักกะห์ จึงทำ
เริ่มการศึกษา
ให้ท่านได้รับส่วนดีจากการสนิทสนมและรู้จักบุคคลหลายหมู่เหล่าหลายภาษาในขณะนั้น ในด้านความรู้อย่างสมบูรณ์แบบและครบวงจร อาทิ วิชาฝึกฮาดิษ ตับซีร และอุลูมอัลกุรอ่าน
อาจารย์ของท่านที่นครมาดีนะห์
ท่านอิหม่ามซาฟีอีได้เล่าเรียนกับท่านอิหม่ามมาลิก บุตรท่านอานัส ท่านอิบรอฮีมบุตรท่านซาอัด อัสอัสซอรี ท่านอับดุลอาซีซบุตรท่านมูฮำหมัดอัลตราวัสดี อ่านอิบรอฮีมบุตรท่านอาบียะห์ยาอัลอาซาบี ท่านมูฮำหมัดบุตรท่านซาอีด บุตรชายท่านอาบีฮัดบิก ท่านอับดุลเลาะห์บุตรท่านนาเฟียอ์ อัสซออี
อาจารย์ที่ประเทศเยเมน
ท่านอิหม่ามได้ศึกษาวิชาฝึกฮาดิษจากท่านมูตริฟ บุตรท่านมาซิน ท่านฮีซาม บุตรท่านยูซุฟ ซึ่งท่านเป็นผู้พิพากษาที่ตำบลซอนอาอ์และท่านอุมารบุตรอาบีซาลามะห์ ซึ่งเป็นสาวกของท่านอิหม่ามอาซาดี ท่านยะห์ยาบุตรท่านฮิซานเป็นเพื่อนของท่านลีซบุตรชายซาอัด
อาจารย์ที่ประเทศอิรัก
ได้ศึกษาวิชาอัลฮาดิษ ฟิก อูลูมุ้ลกุรอ่าน จากท่านวาเดียอ์ บุตรชายท่านยัดเราะห์ และท่านอามูอุซามะห์ คือ ฮัมมาด บุตรท่านอุซามะ ซึ่งเป็นเพื่อนของท่านอิสมาอีล บุตรท่านอิลยะห์ อับดุลวาฮาบ บุตรท่านอับดุลมายิด ทั้งหมดนั้นเป็นชาวมัสเราะห์
สรุป
อาจารย์ของท่านอิหม่ามรวมทั้งสิ้น 19 ท่าน
คณาจารย์จากมักกะห์อัลมูกัรรอมะห์ 5 ท่าน
คณาจารย์จากนครมาดีนะห์ 6 ท่าน
คณาจารย์จากเยเมน 4 ท่าน
คณาจารย์จากอิรัก 4 ท่าน
นักเรียนและลูกศิษย์ของท่านอิหม่ามซาฟีอีมีจำนวนมากและที่มีชื่อเสียงอยู่แนวหน้า คือ
อิหม่ามอะหมัดอิบนิฮัมบัล
ท่านฮาซันบุตรมูฮำหมัดอิสซอบบาห์
อัซซะฟารอนี
ท่านฮูเซนอัลการอบีซี
ท่านดาบูซูรเราะห์ หรือ อิบรอฮีม
ท่านอาบูอิบรอฮีม หรือ อิสมาแอล
บุตรยะห์ยาอัลมาซานี
ท่านอาบูมูฮำหมัด หรือ ท่านรอบีอะห์
บุตรสุไลมานอัลยีซี
ท่านอาบูฮัรมาละห์บุตรยะห์ยา
บุตรอับดุลเลาห์อัตตะห์ยีบี
ท่านอาบูบูซุบ หรือ ยูนุส บุตรท่านอับดุลยะอ์ลา
มูฮำหมัดบุตรอับดุลเลาะห์บุตร
อับดุลวาฮิบอัลมิซรี
และท่านสุดท้าย ท่านอับดุลเลาะห์ คือ ซุบีระฮลฮาบีดี
ในวันที่ 28 เดือนเชาวาล ปีที่ 198 ฮิจเราะห์ศักราช
อิหม่ามได้เดินทาางไปประเทศอียิปต์พร้อมกับท่านอับบาซบุตรมูซา ซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศอียิปต์ขณะนั้น จากการแต่งตั้งของมะมูน
ท่านอับบาสมีจุดประสงค์ให้ท่านอิหม่ามพักแรมที่จวนของท่านฐานะแขกผู้มาเยือนและในฐานะนักวิชาการที่มีชื่อเสียงขณะนั้น
อิหม่ามปฏิเสธที่จะพัก แต่ปรารถนาที่จะพักที่บ้านวงศ์ญาติของท่าน เพราะปฏิบัติตามการปฏิบัติของท่านนบีมูฮำหมัดซ้อลลอลเลอฮิอาลัยฮิวาลัสลำ ที่พระองค์ไม่ยอมหยุดพักบ้านใคร นอกจากบนีนัจยาดซึ่งเป็นวงศ์ญาติของท่าน
อิหม่ามซาฟีอีได้เขียนหนังสือไว้หลายเล่ม เช่น อัลฮัจยะห์ อัรรีซาละห์ ยามีอัลอิสมิ อัลอุม อิมลาอัสสอฆีร อัลอามาลีอัลกุบรอ อัลบุวัยตี มัสอับของอิหม่ามยึดถือตามอัลกีตามอัสเซ็นนะห์ อัลอิจมาอ์ และอัลดียาส
การถึงแก่อสัญกรรม
อิหม่ามซาฟีอีใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศอียิปต์รวมเวลาถึง 5 ปีกับ 9 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 เดือนเชาวาล ปีที่ 198 ถึงปีที่ 204 เดือนรอยับ ท่านเป็นทั้งนักเขียน นักประพันธ์ นักกวี และได้สอนหนังสือนักเรียนนักศึกษา ณ ประเทศแห่งนั้นมาโดยตลอด
ต่อมาท่านได้ล้มป่วยโดยมีเลือดกำเดาไหล เหตุมาจากเป็นโรคริดสีดวงทวาร จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ไม่สามารถออกมาทำการสอนหนังสือแก่นักศึกษาและประชาชนได้ ขณะนั้นท่านมาซาห์ซึ่งเป็นคนหนึ่งในจำนวนลูกศิษย์ของท่านและเอ่ยปากถามท่านอิหม่ามว่า ท่านสบายดีหรือ ท่านอิหม่ามตอบว่า ดี แต่ก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าหากฉันสิ้นอายุไปแล้ว ดวงวิญญาณของฉันจะถูกนำไปสวรรค์อันพึงพอใจหรือไปนรกที่ต้องเสียใจ ขณะนั้นท่านก็ได้เพ่งเล็งไปดูผู้ที่อยู่รอบข้างท่านและวงศ์ญาติของท่าน และครอบครัวของท่านว่า เมื่อฉันได้จากโลกนี้ไปแล้ว พวกท่านจงไปหาผู้ปกครองเมืองและจงขอร้องเขาให้มาอาบน้ำฉัน
และในท้ายของเดือนรอยับปีที่ 204 ฮิจเราะห์ของคืนวันศุกร์หลังละหมาดอีซา ต่อหน้าลูกศิษย์ของท่านจำนวนหนึ่งที่สำคัญ คือ ท่านรอเบียอ์ ยีซี ต่อการถึงแก่กรรมของท่านอีหม่ามก็ได้กระจายปกคลุมไปทั่วแคว้นแดนอียิปต์ เมื่อทุก ๆ คนได้รับทราบข่าว ต่างก็เศร้าโศกเสียใจเป็นล้นพ้น จึงได้ออกมาเพื่อแสดงความเสียใจและเพื่อที่จะหาบร่างของท่านไปอยู่ในที่ที่ดีที่สุด ต่อมาทุก ๆ คนก็ต้องผิดหวังมิอาจทำได้อันสืบเนื่องจากประชาชนที่ได้รับทราบข่าวก่อนหน้านี้ได้ออกมาเนืองแน่น
ตอนเช้าของวันศุกร์ผู้ปกครองเมืองก็ได้ออกมาเพื่ออาบน้ำให้อิหม่ามตามที่ได้รับวาซีฮัตเอาไว้ ผู้ปกครองเมืองได้ถามแก่ญาติว่า ท่านอิหม่ามมีหนี้สินบ้างหรือเปล่า ทางญาติจึงตอบว่ามี ผู้ปกครองจึงได้ทำการชดใช้หนี้สินแทนให้แด่อิหม่าม พอใช้หนี้สินเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงกล่าวว่า นี่และคือความหมายที่ท่านบอกให้ฉันมาอาบน้ำให้
หลังจากละหมาดอัลฮัสริเสร็จสิ้นแล้ว ศพของท่านอิหม่ามซาฟีอีก็ได้เริ่มเคลื่อนออกจากที่พักและเมื่อได้เคลื่อนศพออกมาถึงที่ถนนที่มีนามว่า ถนนอัสซัมบิดะห์นาฟีซะห์ นางเจ้าของชื่อถนนก็ออกมาและขอให้ผู้ที่แบกหาม ในขณะที่ท่านอิหม่ามซาฟีอีได้ละหมาดอยู่ที่มัสยิดขณะนั้นท่านได้พบกับชายคนหนึ่งนั่งอยู่ระหว่างกุโบร์นบีกับมินบัร หน้าตาสดใส เสื้อผ้าขาวสะอาด ละหมาดได้ถูกต้องสวยงาม ฉันจึงถามคนที่อยู่ที่นั่นว่า คนนั้นชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า อยู่ที่อิรัก
อิหม่ามซาฟีอีถามว่า ที่ใดของอิรัก เขาตอบว่า เมืองกูฟะห์ อิหม่ามถามว่า ผู้ที่มีความรู้นั้นและสั่งสอนในแก่นแท้ของกุรอ่านและสุนนะของท่านร่อซุ้ลลุ้ลเลาห์สอลลัลลอรุอาลัยฮิวาลัสลัม บอกฉันว่า ท่าน ท่าน มูฮำหมัดบุตรฮาซัน ท่านอาบูยูซุมเพื่อนของอิหม่ามฮานาฟี
อิหม่ามซาฟีอีกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจะกลับไปกูฟะห์เมื่อใด พวกเขาทั้งหลายกล่าวแก่ฉันว่า รุ่งสางของวันใหม่ เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ไปหาท่านอิหม่ามมาเล็ก ฉันก็กล่าวแก่ท่านอิหม่ามมาลิกว่า แท้จริงฉันได้ออกจากเมืองมักกะห์เพื่อศึกษาวิชาความรู้โดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีเกียรติทั้งหลาย และฉันคงมีโอกาสกลับสู่มักกะห์เพื่อศึกษาเล่าเรียนอีกครั้งหนึ่งหากมีวาสนา อิหม่ามมาลิกกล่าวแก่ฉันว่าท่านไม่ทราบหรือว่าแท้จริงบรรดามาลาอีกะห์ได้ใช้ปีกโอบล้อมแก่ผู้ศึกษาเล่าเรียนเพราะเหตุพึงพอใจผู้ศึกษาเล่าเรียน
อิหม่ามซาฟีอีกล่าวว่า ขณะที่ฉันได้ตัดสินใจจะเดินทาง อิหม่ามมาลิกก็ได้เตรียมท่านอิหม่ามให้นำศพของท่านอิหม่ามเข้าบ้าน เพื่อทำการละหมาดให้อิหม่าม หลังจากที่เธอได้ละหมาดเสร็จแล้ว จึงขอให้อิหม่ามได้รับความเมตตาจากอัลเลาะฮ์และขอดุอาอ์ให้ หลังจากนั้นศพก็จึงเคลื่อนไปยังกุรอฟะห์ ซึ่งทราบขานกันดีโดยทั่วไปในขณะนั้นว่า ตุรุบะห์เอาลาดอับดุล อิกัม และ ณ ที่นี่ ที่ท่านอิหม่ามได้ถูกฝังอยู่ ณ ที่แห่งนี้ หลังจากฝังแล้ว จึงถูกชายานามใหม่ว่า ตุรบะห์อัซซาฟีอี ตาบจนถึงทุกวันนี้
สรุปชีวประวัติทางด้านการศึกษาอีกครั้งหนึ่ง
ปรากฏว่าการออกหาวิชาของอิหม่ามเต็มไปด้วยความยากลำบาก การออกหาวิชาความรู้ขั้นแรกนั้นที่นครมดีนะห์ ได้เล่าเรียนกับอิหม่ามมาลิกและท่องจำมูวัตเตาะอ์และอิหม่ามมาลิกได้ให้เกียรติอิหม่ามซาฟีอีโดยให้อิหม่ามซาฟีอีนั่งแทนที่ของท่านและให้อิหม่ามซาฟีอีอ่านมูวัตให้ประชาชนฟังและอธิบายอย่างชัดเจน อิหม่ามซาฟีอีได้อยู่กับท่านอิหม่ามมาลิกที่มาดีนะห์ประมาณ 8 เดือน
การออกเดินทางไปยังอิรัก ( แบกแดด)
ตามปกติแล้วชาวอียิปต์จะมุ่งสู่นครมดีนะห์ หลังจากทำฮัจยีเสร็จสิ้นเพื่อทำการละหมาดที่มัสยิดนบีมูฮำหมัดศอลลัลลอฮอะลัยฮิวาซัลลัม เพื่อมารับฟังมูวัตเตาะห์ของอิหม่ามมาลิก อิหม่ามซาฟีอีได้กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้สอนมูวัตเตาะแด่เขาเหล่านั้นเพื่อท่องจำ ส่วนหนึ่งจากพวกเหล่านั้นคือ อัลดุลเลาะห์บุตรฮาคัม อัชฮับบุตรกอเซ้ม ท่านลิซบุตรซาอัด
อัล-ชาฟีอียฺสิ้นชีวิตในปีค.ศ. 820 (ฮ.ศ . 204 ) รวมอายุได้ 54 ปี แนวนิติศาสตร์ของเขามีผู้ดำเนินตามเป็นจำนวนมาก จนก่อตัวเป็นสำนักนิติศาสตร์สำคัญ เรียกว่า มัซฮับ ชาฟิอียฺ